วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553




ชื่อโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง


ที่อยู่ 14 ม.1 ต.ป่าหวาย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี


ประวัติโรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง
โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 โดยความอุปถัมภ์ของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ของจังหวัดราชบุรี (นพค. รบ.) ได้ช่วยเหลือวัสดุในการก่อสร้างทั้งสิ้น 36,000 บาทการเปิดเรียนครั้งแรกสอนเฉพาะเด็กซึ่งผู้ปกครองประสบอุทกภัยจากท้องที่ ตำบลด่านทับตะโก ซึ่งอพยพมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านพัฒนา มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 65 คน การสอนครั้งแรกได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ส่งนักศึกษาฝึกสอนมาช่วยสอนชั่วคราวก่อน จนกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ทางอำเภอได้ส่งนายมานิตย์ นิกรศิริ มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ จึงได้เปิดเรียนจริงและมีเด็กในท้องที่ใกล้เคียงมาเข้าเรียนมากขึ้น ทางราชการจึงดำริสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้นใหม่ และขยายอานาเขตโรงเรียนให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 30 ๆร่ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียนที่จะเข้าเรียนต่อไป
ด้วยความสนับสนุนของ นพค. ราบุรี และราชการส่วนอำเภอ จึงของบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 008 เป็นเงินทั้งสิ้น 710,000 บาท เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2514 แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2514 ในปีงบประมาณนี้รวมถึงโรงฝึกงาน 1 หลัง บ้านพักครู 1 หลัง ส้วม 2 หลัง และค่าวัสดุครุภัณฑ์ทั้งหมด
ต่อ มาในปีการศึกษา 23516 โรงเรียนได้รับคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทยให้ขยายการศึกษาภาคบังคับ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 และได้ยกฐานะจัดตั้งเป็นโรงเรียนชุมชนของจังหวัดราชบุรี ในปีการศึกษา 2517 องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้ของบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งของรัฐบาล สร้างอาคารเรียนให้อีกหนึ่งหลัง เป็นแบบ ป 1 ก. ขนาด 5 ห้องเรียน ในปีการศึกษา 2518 องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้ของบประมาณสร้างอาคารเรียนให้อีก 1 หลัง เป็นแบบ ป 1 ก. ขนาด 4 ห้องเรียน ในปีการศึกษา 2519 องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ให้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป 1 ก. ขนาด 4 ห้องเรียน ในปีการศึกษา 2520 ทางโรงเรียนมีนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ได้ของบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป 1 ก. ขนาด 5 ห้องเรียน และได้บรรจุครูเพิ่มและสร้างบ้านพักครูเพิ่มให้อีก
ใน ปีการศึกษา 2521 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป 1 ก. ขนาด 5 ห้องเรียน 1 หลัง อีก 1 หลัง และนายมานิตย์ นิกรศิริ ครูใหญ่ ได้ขออนุญาตลาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ที่วิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง ทางจังหวัดจึงแต่งตั้งให้นายชูศักดิ์ ชมพูพันธ์ ผู้ช่วยครูใหญ่ให้รักษาการในตำแหน่ง ผู้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ทางจังหวัดได้แต่งตั้งให้นายเสรี คลังนาค ครูใหญ่โรงเรียนวัดท่าเคย มาดำรงตำแหน่งผู้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ แทนนายชูศักดิ์ ชมพูพันธ์



ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธนกิจ


ปรัชญา ร.ร.อนุบาลสวนผึ้ง..วิริเยน ทุขมจฺ เจติ บุคคลร่วงทุกข์เพราะความเพียร


วิสัยทัศน์(vision)โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยี นักเรียนมีคุณธรรม รักษ์ความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม


พันธกิจ(MISSION)


1.พัฒนาการเรียนรู้ โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ


2.ส่งเสริมปฏิรูปการศึกษาโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นองค์ประกอบในการจัดการศึกษา


3.ปรับปรุงพัฒนาและสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน


4.ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน


5.พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา


6.ส่งเสริมการจัดการศึกษา โดยเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาต่อ


7.ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน โดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ตลอดถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น


คำขวัญประจำโรงเรียนนักเรียนดี มีความรู้คู่คุณธรรม นำชุมชน
สีประจำโรงเรียน สีเขียว ดำ


5.บุคลากร





6.อาคารสถานที่
อาคารเรียนและอาคารประกอบ 12 หลัง ได้แก่ อาคารเรียน 5 หลัง
อาคารเอนกประสงค์ อาคาร บ้านพักครู 14 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 2 หลัง ส้วม 4 หลัง มีที่ดินทั้งหมด 28 ไร่ ที่ดินและอาคารประกอบได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
จำนวนห้องเรียนทั้งหมด 21 ห้องเรียน แบ่งเป็น
อนุบาล 1 จำนวน 2 ห้องเรียน อนุบาล 2 จำนวน 2 ห้องเรียน ป.1 จำนวน 2 ห้องเรียน ป.2 จำนวน 2 ห้องเรียน ป. 3 จำนวน 2 ห้องเรียน ป. 4 จำนวน 2 ห้องเรียน ป.5 จำนวน 2 ห้องเรียน ป.6 จำนวน 2 ห้องเรียน ม.1 จำนวน 2 ห้องเรียน ม.2 จำนวน 2 ห้องเรียน ม.3 จำนวน 1 ห้องเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
สาระการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
หน่วยการเรียนรู้1 ทักษะเบื้องต้นในการเล่นเทเบิลเทนนิส ชั้น ม.1/1 ม.1/2
เรื่อง การจับไม้แบบธรรมดา การจับไม้แบบปากกา และการเดาะลูก เวลา 2 ชั่วโมง
วันที่ 19,26 พฤษภาคม พ.ศ.2553
สาระสำคัญ การจับไม้ การตีลูกการสร้างความคุ้นเคยในการตี และในการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และชำนาญ เป็นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องฝึกให้เกิดความเคยชิน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของประสาทสัมผัสกับอวัยวะต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้เล่นควรฝึกท่าพื้นฐานให้เกิดความคุ้นเคยและเดาะลูกให้เกิดความชำนาญ
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์
พ 3.1 พ 3.2 ม.1 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬาอย่างละ1ชนิดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.ปฏิบัติการจับไม้เทเบิลเทนนิสแบบต่างๆได้ถูกต้อง
2.ปฏิบัติการเดาะลูกหน้ามือและเดาะลูกหลังมือได้ถูกต้อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถจับไม้แบบธรรมดาได้
2. นักเรียนสามารถจับไม้แบบปากกาได้
3. นักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการเดาะลูกหน้ามือและเดาะลูกหลังมือได้ 50 ลูกโดยที่ลูกไม่ตกถึงพื้น

สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้
1. ท่าการจับไม้แบบธรรมดาและแบบปากกา
-แบบธรรมดา
-แบบปากกา
2. การเดาะลูก
-หน้ามือ
-หลังมือ
ด้านทักษะ/กระบวนการ
-กระบวนการ ปฏิบัติ
-กระบวนการ เพื่อนช่วยเพื่อน
คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
1. มีวินัย
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีน้ำใจนักกีฬาช่วยเหลือเพื่อน
4. มีจิตสาธารณะ

กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นเตรียม (5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถว

2.ครูสำรวจชื่อนักเรียนที่มาเรียนและขาดเรียน
3.ครูพูดนำเรื่องที่จะสอนและพูดคุยกับนักเรียน ร่วมสนทนาเรื่องท่าเตรียมพร้อม การทรงตัว การจับไม้แบบธรรมดาและแบบปากกา และการเดาะลูกหน้ามือและลูกหลังมือ
ขั้นอบอุ่นร่างกาย(5นาที)
1.บริหารคอ ไหล่ เอว ข้อมือ ข้อเท้า และหลัง
2.กระโดดตบ 20ครั้ง
3.ก้มแตะสลับ
ขั้นอธิบายและสาธิต(5นาที)
1.ครูอธิบายและสาธิตและการจับไม้เทเบิลเทนนิสแบบต่างๆให้นักเรียนดู และให้ศึกษาดูใบความรู้ทักษะการจับไม้แบบต่างๆ
-การจับแบบธรรมดา
-จับแบบปากกา

2.ครูอธิบายและสาธิตทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส
การเดาะลูก
-หน้ามือ
-หลังมือ
ขั้นฝึกหัดหรือปฏิบัติ (25-30นาที)
ให้นักเรียนแยกฝึกปฏิบัติทุกๆคน โดยฝึกตามที่ครูอธิบายและสาธิต
1.การจับไม้เทเบิลเทนนิส
-จับแบบธรรมดา
-จับแบบปากกา
2.ทักษะการเดาะลูก
-หน้ามือ
-หลังมือ
ครูเดินสังเกตดูเด็กทุกคน และให้คำแนะนำ แก้ไข และเสนอแนะ
ขั้นสรุป(5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถวเช่นเดียวกับขั้นเตรียม
2.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการจับไม้และการเดาะลูกเทเบิลเทนนิส พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก้ไข และเสนอแนะ
3.ให้นักเรียนใช้เวลาว่างฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ ครูชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจเรียนเน้นให้นักเรียนมีวินัยมีความรับผิดชอบ ตรงเวลา มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูนัดหมายชั่วโมงต่อไป
4.ครูปล่อยแถวเลิกเรียน


สื่อการเรียนรู้
1.ไม้เทเบิลเทนนิส, ลูกเทเบิลเทนนิส, โต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.ใบความรู้ที่1การจับไม้แบบธรรมดาและแบบปากกา
3.ภาพการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือ
4.หนังสือเทเบินเทนนิส
5..เว็บไซด์ SANOOK.COM ,GOOGLE.COM
แหล่งเรียนรู้
1.ห้องสมุด ศาลา และสนาม
2.ห้องคอมพิวเตอร์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
สาระการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทักษะเบื้องต้นในการเล่นเทเบิลเทนนิส ระดับชั้น ม.1/1 ม.1/2
เรื่อง การเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่ เวลา 2 ชั่วโมง
วันที่ 16,23 มิถุนายน พ.ศ.2553
สาระสำคัญ การเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่ เป็นการทดสอบไหวพริบของการเล่นเทเบิลเทนนิสและทำให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยทั้งหน้ามือและหลังมือและจะสามารถพลิกข้อมือได้ โดยการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่ นี้ เพื่อให้เกิดความเคยชิน และชำนาญ การเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่ เป็นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องฝึกให้เกิดความเคยชิน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของประสาทสัมผัสกับอวัยวะต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้เล่นควรฝึกการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่ ให้เกิดความชำนาญเพื่อให้เกิดความเคยชินก่อนที่จะเล่นบนโต๊ะเทเบิลเทนนิส
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์
พ 3.1 พ 3.2 ม.1 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬาอย่างละ1ชนิดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.ปฏิบัติการเดาะลูกหน้ามือกับคู่ ได้ ถูกต้อง
2. ปฏิบัติการเดาะหลังมือกับคู่ ได้ถูกต้อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถปฏิบัติการเดาะลูกเทเบิลเทนนิสหน้ามือกับคู่ ได้50ครั้ง โดยที่ลูกไม่ตกถึงพื้น
2. นักเรียนสามารถปฏิบัติการเดาะลูกเทเบิลเทนนิสหลังมือกับคู่ได้ 50 ครั้ง โดยที่ลูกไม่ตกถึงพื้น

เนื้อหาสาระการเรียนรู้
ด้านความรู้
1. การเดาะลูกกับคู่
–หน้ามือ
-หลังมือ

ด้านทักษะ/กระบวนการ
-กระบวนการ ปฏิบัติ
-กระบวนการ เพื่อนช่วยเพื่อน
คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
1. มีวินัย
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีน้ำใจนักกีฬาช่วยเหลือเพื่อน
4. มีจิตสาธารณะ





กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นเตรียม (5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถว

2.ครูสำรวจชื่อนักเรียนที่มาเรียนและขาดเรียน
3.ครูพูดนำเรื่องที่จะสอนและพูดคุยกับนักเรียน ร่วมสนทนาเรื่องท่าเตรียมพร้อม การทรงตัว การจับไม้แบบธรรมดาและการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่
ขั้นอบอุ่นร่างกาย(5นาที)1.บริหารคอ ไหล่ เอว ข้อมือ ข้อเท้า และหลัง
2.กระโดดตบ 20ครั้ง
3.ก้มแตะสลับ
ขั้นอธิบายและสาธิต(5นาที)
1.ครูอธิบายและสาธิตการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่ให้นักเรียนดู และให้ใบความรู้ดูภาพการการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่


2.ครูอธิบายและสาธิตทักษะการเดาะลูกกับคู่
-หน้ามือ
-หลังมือ
ขั้นฝึกหัดหรือปฏิบัติ (25-30นาที)
ให้นักเรียนแยกฝึกปฏิบัติทุกๆคน โดยฝึกตามที่ครูอธิบายและสาธิต
1.การเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่
ครูเดินสังเกตดูเด็กทุกคน และให้คำแนะนำ แก้ไข และเสนอแนะ
ขั้นสรุป(5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถวเช่นเดียวกับขั้นเตรียม
2.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก้ไข และเสนอแนะ
3.ให้นักเรียนใช้เวลาว่างฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ ครูชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจเรียนเน้นให้นักเรียนมีวินัยมีความรับผิดชอบ ตรงเวลา มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูนัดหมายชั่วโมงต่อไป
4.ครูปล่อยแถวเลิกเรียน
สื่อการเรียนรู้
1.ไม้เทเบิลเทนนิส, ลูกเทเบิลเทนนิส, โต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.ใบความรู้ที่2 ภาพการเดาะลูกหน้ามือและหลังมือกับคู่
4.หนังสือเทเบินเทนนิส
5..เว็บไซด์ GOOGLE.COM
แหล่งเรียนรู้
1.ห้องสมุดโรงเรียน
2.ศาลา และสนาม
3.ห้องคอมพิวเตอร์
4.สมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
สาระการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทักษะเบื้องต้นในการเล่นเทเบิลเทนนิส ระดับชั้น ชั้นม.1/1 ม.1/2
เรื่อง การเดาะลูกสลับหน้ามือหลังมือ การตีลูกกระดอนพื้นหน้ามือและหลังมือ เวลา 2 ชั่วโมง
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2553 , 7กรกฎาคม พ.ศ.2553
สาระสำคัญ การเดาะลูกสลับ เป็นการทดสอบไหวพริบของการเล่นเทเบิลเทนนิสและทำให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยทั้งหน้ามือและหลังมือและจะสามารถพลิกข้อมือได้ โดยการเดาะลูกสลับไปมาหน้าหลังนี้ เพื่อให้เกิดความเคยชิน และชำนาญ การเดาะลูกสลับเป็นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องฝึกให้เกิดความเคยชิน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของประสาทสัมผัสกับอวัยวะต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้เล่นควรฝึกการเดาะลูกสลับให้เกิดความชำนาญและการเดาะลูกกระดอนพื้นเพื่อให้เกิดความเคยชินก่อนที่จะเล่นบนโต๊ะเทเบิลเทนนิส
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหวการออกกำลังกายการเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์
พ 3.1 พ 3.2 ม.1 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬาอย่างละ1ชนิด
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.ปฏิบัติการเดาะลูกสลับหน้ามือหลังมือได้ ถูกต้อง
2. ปฏิบัติการตีลูกหน้ามือกระดอนพื้นได้ถูกต้อง
3.ปฏิบัติการตีลูกหลังมือกระดอนพื้นได้ถูกต้อง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถเดาะลูกสลับหน้ามือหลังมือได้ 100ครั้ง โดยที่ลูกไม่ตกถึงพื้น
2. นักเรียนสามารถปฏิบัติการตีลูกหน้ามือกระดอนพื้นได้ 50 ครั้ง
3. นักเรียนสามารถปฏิบัติ การตีลูกหลังมือกระดอนพื้นได้ 50 ครั้ง
สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้
1. การเดาะลูกสลับ
2. การตีลูกกระดอนพื้น
–หน้ามือ
-หลังมือ

ด้านทักษะ/กระบวนการ
-กระบวนการ ปฏิบัติ
-กระบวนการ เพื่อนช่วยเพื่อน
คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
1. มีวินัย
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีน้ำใจนักกีฬาช่วยเหลือเพื่อน
4. มีจิตสาธารณะ



กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นเตรียม (5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถว

2.ครูสำรวจชื่อนักเรียนที่มาเรียนและขาดเรียน
3.ครูพูดนำเรื่องที่จะสอนและพูดคุยกับนักเรียน ร่วมสนทนาเรื่องท่าเตรียมพร้อม การทรงตัว การเดาะลูกสลับหน้ามือหลังมือ การตีลูกกระดอนพื้นหน้ามือและหลังมือ
ขั้นอบอุ่นร่างกาย(5นาที)1.บริหารคอ ไหล่ เอว ข้อมือ ข้อเท้า และหลัง
2.กระโดดตบ 20ครั้ง
3.ก้มแตะสลับ
ขั้นอธิบายและสาธิต(5นาที)
1.ครูอธิบายและสาธิตการเดาะลูกสลับหน้ามือหลังมือให้นักเรียนดู และให้ใบความรู้ดูภาพการตีสลับหน้ามือหลังมือ


2.ครูอธิบายและสาธิตทักษะการตีลูกกระดอนพื้น
-หน้ามือ
-หลังมือ
ขั้นฝึกหัดหรือปฏิบัติ (25-30นาที)
ให้นักเรียนแยกฝึกปฏิบัติทุกๆคน โดยฝึกตามที่ครูอธิบายและสาธิต
1.การเดาะลูกสลับหน้ามือหลังมือ
2.ทักษะการตีลูกกระดอนพื้น
-หน้ามือ
-หลังมือ
ครูเดินสังเกตดูเด็กทุกคน และให้คำแนะนำ แก้ไข และเสนอแนะ
ขั้นสรุป(5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถวเช่นเดียวกับขั้นเตรียม
2.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการเดาะลูกเทเบิลเทนนิส และการตีลูกเทเบิลเทนนิส กระดอนพื้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก้ไข และเสนอแนะ
3.ให้นักเรียนใช้เวลาว่างฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ ครูชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจเรียนเน้นให้นักเรียนมีวินัยมีความรับผิดชอบ ตรงเวลา มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูนัดหมายชั่วโมงต่อไป
4.ครูปล่อยแถวเลิกเรียน


สื่อการเรียนรู้
1.ไม้เทเบิลเทนนิส, ลูกเทเบิลเทนนิส, โต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.ใบความรู้ที่2 ภาพการเดาะสลับ และการตีลูกกระดอนพื้นหน้ามือและหลังมือ
4.หนังสือเทเบินเทนนิส
5..เว็บไซด์ GOOGLE.COM
แหล่งเรียนรู้
1.ห้องสมุดโรงเรียน
2.ศาลา และสนาม
3.ห้องคอมพิวเตอร์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
สาระการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ทักษะเบื้องต้นในการเล่นเทเบิลเทนนิสระดับชั้น ม.1/1 ม.1/2
เรื่อง การตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนังด้วยหน้ามือ และ หลังมือโดยการจับไม้แบบธรรมดา
เวลา 2 ชั่วโมง
วันที่ 14,21 กรกฎาคม พ.ศ.2553
สาระสำคัญ การตีลูกกระดอนฝาผนังหน้ามือและหลังมือโดยการจับไม้แบบธรรมดา การตีลูกกระดอนนี้เป็นการการสร้างความคุ้นเคยในการตี และในการตีลูกกระดอนลูกหน้ามือและหลังมือเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และชำนาญทำให้รับลูกจากการกระดอนกลับมาของฝาผนังทำให้คุ้นเคยเหมือนตีโต้กับคู่ต่อสู้ และยังเป็นเป็นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องฝึกให้เกิดความเคยชิน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ความเร็วของประสาทสัมผัสกับอวัยวะต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้เล่นควรฝึกท่าพื้นฐานให้เกิดความคุ้นเคยและตีลูกกระดอนเพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนจะเล่นบนโต๊ะกลับคู่ต่อสู้
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหวการออกกำลังกายการเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์
พ 3.1 พ 3.2 ม.1 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬาอย่างละ1ชนิด
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.ปฏิบัติการตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนังด้วยหน้ามือได้ถูกต้อง
2.ปฏิบัติการตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนังด้วยหลังมือได้ถูกต้อง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนังด้วยหน้ามือได้
2. นักเรียนสามารถตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนังด้วยหลังมือได้
สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้
1. การตีลูกกระดอนฝาผนัง
-หน้ามือ
-หลังมือ
2. การรับลูกกระดอนฝาผนัง
-หน้ามือ
-หลังมือ
ด้านทักษะ/กระบวนการ
-กระบวนการ ปฏิบัติ
-กระบวนการ เพื่อนช่วยเพื่อน
คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
1. มีวินัย
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีน้ำใจนักกีฬาช่วยเหลือเพื่อน
4. มีจิตสาธารณะ


กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นเตรียม (5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถว

2.ครูสำรวจชื่อนักเรียนที่มาเรียนและขาดเรียน
3.ครูพูดนำเรื่องที่จะสอนและพูดคุยกับนักเรียน ร่วมสนทนาเรื่องท่าเตรียมพร้อม การทรงตัว การจับไม้แบบธรรมดาและ การตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนังด้วยหน้ามือ และ หลังมือ
ขั้นอบอุ่นร่างกาย(5นาที)1.บริหารคอ ไหล่ เอว ข้อมือ ข้อเท้า และหลัง
2.กระโดดตบ 20ครั้ง
3.ก้มแตะสลับ
ขั้นอธิบายและสาธิต(5นาที)
1. ครูอธิบายและสาธิตและการจับไม้แบบธรรมดาให้นักเรียนดู และให้ศึกษาดูใบความรู้ทักษะการจับไม้แบบต่างๆ
-การจับแบบธรรมดา
2. ครูอธิบายและสาธิตทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส
การตีลูกกระดอนฝาผนัง
-หน้ามือ
-หลังมือ
การรับลูกกระดอนฝาผนัง
-หน้ามือ
-หลังมือ
ขั้นฝึกหัดหรือปฏิบัติ (25-30นาที)
ให้นักเรียนแยกฝึกปฏิบัติทุกๆคน โดยฝึกตามที่ครูอธิบายและสาธิต
1.การจับไม้เทเบิลเทนนิส
-จับแบบธรรมดา
2.ทักษะการตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนัง
-หน้ามือ
-หลังมือ
ครูเดินสังเกตดูเด็กทุกคน และให้คำแนะนำ แก้ไข และเสนอแนะ
ขั้นสรุป(5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถวเช่นเดียวกับขั้นเตรียม
2.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการจับไม้และการตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนังหน้ามือหลังมือ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก้ไข และเสนอแนะ
3.ให้นักเรียนใช้เวลาว่างฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ ครูชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจเรียนเน้นให้นักเรียนมีวินัยมีความรับผิดชอบ ตรงเวลา มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูนัดหมายชั่วโมงต่อไป
4.ครูปล่อยแถวเลิกเรียน
สื่อการเรียนรู้
1.ไม้เทเบิลเทนนิส, ลูกเทเบิลเทนนิส, โต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.ใบความรู้ที่4การจับไม้แบบธรรมดาและการตีลูกและรับลูกกระดอนฝาผนัง
3.หนังสือเทเบินเทนนิส
4..เว็บไซด์ SANOOK.COM ,GOOGLE.COM
แหล่งเรียนรู้
1.ห้องสมุด ศาลา และสนาม
2.ห้องคอมพิวเตอร์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
สาระการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
หน่วยการเรียนรู้ ทักษะเบื้องต้นในการเล่นเทเบิลเทนนิส ระดับชั้น ชั้นม.1/1 ม.1/2
เรื่อง การตีลูกโต้หน้ามือและหลังมือ เวลา 1 ชั่วโมง
วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2553
สาระสำคัญ การตีลูกโต้หน้ามือและหลังมือ เป็นการทดสอบไหวพริบของการเล่นเทเบิลเทนนิสและทำให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยและทำให้สามารถโต้กลับได้อย่างดี การตีโต้นี้จะทำให้นักเรียนเกิดความมั่นใจและชำนาญในการกะระยะการตีได้บังคับลูกให้อยู่บริเวณโต๊ะที่กำหนดได้และเป็นพื้นฐานที่ผู้เล่นต้องฝึกให้เกิดความเคยชิน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของประสาทสัมผัสกับอวัยวะต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้เล่นควรฝึกการตีโต้ก่อนที่จะไปเล่นในท่าอื่นต่อไป
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหวการออกกำลังกายการเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์
พ 3.1 พ 3.2 ม.1 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬาอย่างละ1ชนิด
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.ปฏิบัติการตีลูกโต้หน้ามือได้ ถูกต้อง
2. ปฏิบัติการตีลูกโต้หลังมือได้ถูกต้อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.นักเรียนสามารถปฏิบัติการตีลูกโต้หน้ามือได้ 10ครั้ง
2.นักเรียนสามารถปฏิบัติการตีลูกโต้หลังมือได้ 10 ครั้ง


สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้
1. การตีลูกโต้
–หน้ามือ
-หลังมือ

ด้านทักษะ/กระบวนการ
-กระบวนการ ปฏิบัติ
-กระบวนการ เพื่อนช่วยเพื่อน
คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
1. มีวินัย
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีน้ำใจนักกีฬาช่วยเหลือเพื่อน
4. มีจิตสาธารณะ

กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นเตรียม (5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถว

2.ครูสำรวจชื่อนักเรียนที่มาเรียนและขาดเรียน
3.ครูพูดนำเรื่องที่จะสอนและพูดคุยกับนักเรียน ร่วมสนทนาเรื่องท่าเตรียมพร้อม การทรงตัว การตีลูกโต้หน้ามือและหลังมือ
ขั้นอบอุ่นร่างกาย(5นาที)1.บริหารคอ ไหล่ เอว ข้อมือ ข้อเท้า และหลัง
2.กระโดดตบ 20ครั้ง
3.ก้มแตะสลับ
ขั้นอธิบายและสาธิต(5นาที)
1.ครูอธิบายและสาธิตการตีลูกโต้หน้ามือและหลังมือให้นักเรียนดู และให้ใบความรู้ดูภาพการตีลูกโต้หน้ามือหลังมือ
2.ครูอธิบายและสาธิตทักษะการตีลูกโต้
-หน้ามือ
-หลังมือ

ขั้นฝึกหัดหรือปฏิบัติ (25-30นาที)
ให้นักเรียนแยกฝึกปฏิบัติทุกๆคน โดยฝึกตามที่ครูอธิบายและสาธิต
1.ทักษะการตีลูกโต้
-หน้ามือ
-หลังมือ
ครูเดินสังเกตดูเด็กทุกคน และให้คำแนะนำ แก้ไข และเสนอแนะ
ขั้นสรุป(5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถวเช่นเดียวกับขั้นเตรียม
2.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการตีลูกโต้หน้ามือและหลังมือ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก้ไข และเสนอแนะ
3.ให้นักเรียนใช้เวลาว่างฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ ครูชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจเรียนเน้นให้นักเรียนมีวินัยมีความรับผิดชอบ ตรงเวลา มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูนัดหมายชั่วโมงต่อไป
4.ครูปล่อยแถวเลิกเรียน
สื่อการเรียนรู้
1.ไม้เทเบิลเทนนิส, ลูกเทเบิลเทนนิส, โต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.ใบความรู้ที่2 ภาพการตีลูกโต้หน้ามือและหลังมือ
4.หนังสือเทเบิลเทนนิส
5..เว็บไซด์ GOOGLE.COM

แหล่งเรียนรู้
1.ห้องสมุดโรงเรียน
2.ศาลา และสนาม
3.ห้องคอมพิวเตอร์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
สาระการเรียนรู้ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
หน่วยการเรียนรู้ที่ ทักษะเบื้องต้นในการเล่นเทเบิลเทนนิส ระดับชั้น ชั้นม.1/1 ม.1/2
เรื่อง การเสิร์ฟลูกเทเบิลเทนนิส เวลา 2 ชั่วโมง
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2553
สาระสำคัญ การส่งลูกหรือเรียกว่าการเสิร์ฟ (server) เป็นการส่งที่มีผลต่อการเล่น มีผู้เล่นจำนวนมากที่ชนะได้เพราะการส่งลูก เพราะการส่งลูกเป็นเทคนิคผู้เล่นจะต้องส่งลูกให้ข้ามแดนไปยังแดนคู่ต่อสู้อย่างถูกต้องตามกติกา และเพื่อให้นักเรียนได้คุ้นเคยกับเทคนิคการเสิร์ฟ ผู้ที่เสิร์ฟต้องคำนึงถึงจุดลงของลูกในแดนของตนเองเป็นอันดับแรก ไม่เช่นนั้นการเสิร์ฟจะมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้โดยง่าย นักเรียนจึงต้องมีพื้นฐานในการส่งลูกเพื่อให้เกิดความชำนาญในการเสิร์ฟ
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหวการออกกำลังกายการเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
ตัวชี้วัด/จุดประสงค์
พ 3.1 พ 3.2 ม.1 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬาอย่างละ1ชนิด
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.ปฏิบัติการเสิร์ฟลูกหน้ามือได้ ถูกต้อง
2. ปฏิบัติการเสิร์ฟลูกหลังมือได้ถูกต้อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถเสิร์ฟลูกหน้ามือข้ามแดนได้ตามกติกา
2. นักเรียนสามารถเสิร์ฟลูกหลังมือข้ามแดนได้ตามกติกา

สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้
1. การเสิร์ฟ
–หน้ามือ
-หลังมือ

ด้านทักษะ/กระบวนการ
-กระบวนการ ปฏิบัติ
-กระบวนการ เพื่อนช่วยเพื่อน
คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์
1. มีวินัย
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีน้ำใจนักกีฬาช่วยเหลือเพื่อน
4. มีจิตสาธารณะ

กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นเตรียม (5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถว

2.ครูสำรวจชื่อนักเรียนที่มาเรียนและขาดเรียน
3.ครูพูดนำเรื่องที่จะสอนและพูดคุยกับนักเรียน ร่วมสนทนาเรื่องท่าเตรียมพร้อม การทรงตัว การเสิร์ฟหน้ามือและหลังมือ
ขั้นอบอุ่นร่างกาย(5นาที)1.บริหารคอ ไหล่ เอว ข้อมือ ข้อเท้า และหลัง
2.กระโดดตบ 20ครั้ง
3.ก้มแตะสลับ
ขั้นอธิบายและสาธิต(5นาที)
1.ครูอธิบายและสาธิตการเสิร์ฟลูกหน้ามือและหลังมือให้นักเรียนดู และให้ใบความรู้ดูภาพการเสิร์ฟ
2.ครูอธิบายและสาธิตทักษะการเสิร์ฟ
-หน้ามือ
-หลังมือ

ขั้นฝึกหัดหรือปฏิบัติ (25-30นาที)
ให้นักเรียนแยกฝึกปฏิบัติทุกๆคน โดยฝึกตามที่ครูอธิบายและสาธิต
1.การเสิร์ฟ
-หน้ามือ
-หลังมือ
ครูเดินสังเกตดูเด็กทุกคน และให้คำแนะนำ แก้ไข และเสนอแนะ
ขั้นสรุป(5นาที)
1.ให้นักเรียนเข้าแถวหน้ากระดาน 4แถวเช่นเดียวกับขั้นเตรียม
2.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปการเสิร์ฟหน้ามือและหลังมือ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก้ไข และเสนอแนะ
3.ให้นักเรียนใช้เวลาว่างฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ ครูชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจเรียนเน้นให้นักเรียนมีวินัยมีความรับผิดชอบ ตรงเวลา มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครูนัดหมายชั่วโมงต่อไป
4.ครูปล่อยแถวเลิกเรียน
สื่อการเรียนรู้
1.ไม้เทเบิลเทนนิส, ลูกเทเบิลเทนนิส, โต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.ใบความรู้ที่2 ภาพการเดาะสลับ และการตีลูกกระดอนพื้นหน้ามือและหลังมือ
4.หนังสือเทเบินเทนนิส
5..เว็บไซด์ GOOGLE.COM
แหล่งเรียนรู้
1.ห้องสมุดโรงเรียน
2.ศาลา และสนาม
3.ห้องคอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น